เอเชียพันธุ์พืช (มะเขือยักษ์)

http://moon99.siam2web.com/

(gallery) 2009924_283.jpg

(gallery) 2009924_136.jpg

(gallery) 2009924_442.jpg

(banner2) 2008109-29-46003.jpg
(gallery) 2009924_617.jpg

 (gallery) 2009924_108.jpg 

การปลูกและดูแลรักษามะเขือยักษ์

1. เริ่มจากการทำแปลงเพาะกล้าหรือถาดหลุมเพาะกล้าที่ใส่ดินผสม ซึ่งประกอบด้วย ดินละเอียด 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหรือแกลบ 1 ส่วน รดน้ำและหยอดเมล็ดลงในแปลงหรือถาดหลุม หลุมละ 1 เมล็ด รดน้ำเช้า-เย็น

2. การเตรียมแปลงปลูก โดยไถดินให้ลึก 30-40 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7-10 วัน

3. ย่อยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาวในอัตรา 100-200 กิโลกรัม ต่อไร่ พร้อมใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา 2,000 กิโลกรัม ต่อไร่ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัม ต่อไร่ คลุกเคล้าในแปลง

4. ยกแปลงสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 120 เซนติเมตร เสร็จรดน้ำและคลุมด้วยฟางหรือพลาสติค เพื่อรักษาความชื้น

5. ขุดหลุม กว้าง 50×50 เซนติเมตร ระยะปลูกระหว่างต้น 70-80 เซนติเมตร ระหว่างแถว 90-100 เซนติเมตร

6. นำกล้ามะเขือยักษ์ที่มีอายุ 15 วัน หรือมีใบจริง 3-4 ใบ มาปลูกตามหลุมที่เตรียมดินไว้และรดน้ำให้ชุ่ม และสม่ำเสมอหลังย้ายกล้าทุกเช้า-เย็น เมื่อกล้าตั้งตัวดีแล้วรดน้ำวันละครั้ง

7. หลังย้ายปลูก 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 8-24-24 อัตรา 50-100 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยทยอยแบ่งใส่ในช่วงออกดอกติดผล ทุกๆ 20 วัน แต่ถ้ากรณีใส่น้ำหมักชีวภาพ ใช้ครั้งแรกเมื่อต้นมะเขืออายุ ประมาณ 1 เดือน ในอัตราส่วน 1 ลิตร ต่อน้ำ 100 ลิตร ใช้ฉีดพ่นทางดิน

หลังจากฉีดพ่นแล้วรอบแรก ทำการฉีดพ่นรอบสองอีก 15 วัน ฉีดพ่นอีกครั้งแต่ใช้ส่วนผสมอัตราส่วน 1 ลิตร ต่อน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดพ่นทางใบ แล้วก็รอจนกระทั่งเก็บผลผลิตได้

8. เก็บผลผลิตอย่างต่อเนื่องไปได้เรื่อยๆ และเมื่อเก็บผลหมดแล้วให้ตัดแต่งกิ่งเพื่อให้มะเขือออกยอดและใบใหม่ ก็จะมีดอกและลูกตามมาอีกเรื่อยๆ และเมื่อผลแก่สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธุ์ต่อไปอีกได้

 การป้องกันกำจัดศัตรูมะเขือยักษ์

มะเขือยักษ์ก็เหมือนมะเขือทั่วไป แต่ใบของมะเขือยักษ์จะใหญ่มาก เมื่อลงดินประมาณ 2-3 สัปดาห์ มักจะมีแมลงมาเกาะใต้ใบ ส่วนใหญ่ที่พบ จะเป็นเพลี้ยอ่อน ให้ฉีดพ่นด้วยสารไล่แมลงหรือน้ำส้มควันไม้ ศัตรูพืชอีกอย่างของมะเขือคือ หนอนผีเสื้อ มักจะเกิดกับยอดอ่อนของมะเขือ เมื่อพบว่ายอดมะเขือเหี่ยว ให้เด็ดยอดที่เหี่ยวมาดูจะพบหนอนอยู่ที่บริเวณยอดอ่อน ให้ฉีดพ่นสารไล่แมลง หรือน้ำส้มควันไม้ก็ได้ สำหรับโรคที่พบ ได้แก่ โรคผลเน่าแห้งสีดำหรือปลายผลดำ ป้องกันและกำจัดโดยใส่หินปูน หรือปูนขาว รองก้นหลุม 1-2 ช้อนแกง ต่อหลุม ส่วนโรคราแป้ง ป้องกันและกำจัด โดยใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น กำมะถันผงชนิดละลายน้ำ ฉีดพ่นในเวลาเช้ามืดที่มีอากาศเย็นหรือตอนเช้า

แต่ถ้าใส่น้ำหมักชีวภาพแล้ว แทบจะไม่มีแมลงศัตรูพืชมารบกวน อีกทั้งยังมีลำต้นแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักมะเขือที่ผลโตมากๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นทั้งปุ๋ยบำรุงดินและยาควบคุมศัตรูพืชควบคู่กัน ปลอดภัยต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น มะเขือจะมีวัชพืชรบกวน ควรหมั่นกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ



Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 25,006 Today: 8 PageView/Month: 50

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...